If buildings sprang up suddenly out of the ground like mushrooms, their rooftops would be covered into a layer of soil and plants.
ผิดตรงไหนเอ่ย?
เนื่องจากประโยคนี้ขึ้นต้นด้วย if ซึ่งเป็น subordinating conjunction เราจึงทราบว่าประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อน (complex sentence) แน่นอน เราจึงเริ่มวิเคราะห์ประโยคโดยการหา subject และ verb ของประโยคย่อยที่อยู่หน้าและหลัง comma ได้ดังนี้
If S(buildings) V(sprang up) suddenly out of the ground like mushrooms, S(their rooftops) V(would be covered) into a layer of soil and plants.
เนื่องจากส่วนที่เป็น verb ใน if-clause (ประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย if) ถูกขีดเส้นใต้ (sprang up) เราจึงควรตรวจสอบไวยากรณ์เรื่อง if ก่อน
เรื่อง if (เรียกแบบหรู ๆ ว่า Conditionals) ที่นิยมนำมาออกข้อสอบมี 4 แบบหลัก ๆ ดังนี้
0 − 1 − 2 − 3
If แบบที่ 0 (Zero Conditional): จริงตลอดกาล ไม่ขึ้นกับเวลา
If + S + Vpresent , S + Vpresent
ดูตัวอย่างประโยคแล้วจดจำไว้นะครับ
(a) If you heat water to 100 degrees Celsius, it boils.ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าคุณต้มน้ำจนถึงอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส น้ำก็จะเดือด" (จะเห็นว่าเงื่อนไขนี้เป็นจริงเสมอ ไม่ว่าเราจะต้มน้ำในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ตาม)
ประโยคที่ใช้ if แบบที่ 0 นี้ ส่วนใหญ่เราจะสามารถแทนที่ if ด้วย when ได้ ดังนั้นประโยค (a) อาจเขียนใหม่ได้เป็น
(b) When you heat water to 100 degrees Celsius, it boils.
If แบบที่ 1 (First Conditional): อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
โดยที่If + S + Vpresent , S + will + V0
- Vpresent = กริยาในรูป present tense — ปกติจะใช้ present simple แต่บางกรณีอาจใช้ present continuous หรือ present perfect ก็ได้ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
- V0 = กริยาช่องศูนย์ (กริยาไม่ผัน)
- นอกจากจะใช้ will ใน main clause แล้ว เรายังสามารถใช้ modal verb ตัวอื่น เช่น can/may ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
มาดูตัวอย่างประโยคกันเลย
(c) If it rains tomorrow, I won’t go out.ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าพรุ่งนี้ฝนตก ฉันจะไม่ออกไปข้างนอก" (ผู้พูดคิดว่าเป็นไปได้ที่พรุ่งนี้ฝนจะตก)
If แบบที่ 1 นี้สามารถใช้ should + V0 ใน if-clause ก็ได้ ดังนี้
(d) If it should rain tomorrow, I won’t go out.ความหมายของประโยคนี้ก็คล้ายกับประโยค (c) แต่ต่างกันนิดนึงตรงที่ประโยค (d) นั้น ผู้พูดคาดการณ์ว่าโอกาสที่ฝนจะตกน้อยกว่าประโยค (c)
นอกจากนี้ จากประโยค (d) เรายังสามารถตัด if แล้วย้าย should มาวางหน้าประโยคได้อีกด้วย (เรียกโครงสร้างนี้ว่า inversion) ดังนี้
(e) Should it rain tomorrow, I won’t go out.
If แบบที่ 2 (Second Conditional): เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน หรือ ไม่น่าเป็นไปได้ในอนาคต
โดยที่If + S + Vpast , S + would + V0
- Vpast = กริยาในรูป past tense — ปกติจะใช้ past simple (กริยาช่อง 2) แต่บางกรณีอาจใช้ past continuous ก็ได้ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
- V0 = กริยาช่องศูนย์ (กริยาไม่ผัน)
- นอกจากจะใช้ would ใน main clause แล้ว เรายังสามารถใช้ could หรือ might ก็ยังได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
มาดูตัวอย่างกันเลย
(f) If I were a millionaire, I would buy a yacht.ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าฉันเป็นเศรษฐีเงินล้านนะ ฉันจะซื้อเรือยอชต์สักลำนึง" (ในความเป็นจริง ผู้พูดไม่ได้เป็นเศรษฐี ดังนั้นผู้พูดคงไม่มีปัญญาซื้อเรือยอชต์หรอก) น้อง ๆ ควรสังเกตด้วยว่าเราจะใช้ were กับประธานในกรณีนี้ ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการสมมติ)
ประโยคข้างต้นสามารถทำ inversion ได้โดยการตัด if แล้วย้าย were มาข้างหน้าประธาน กลายเป็น
(g) Were I a millionaire, I would buy a yacht.พอเข้าใจไหมครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ลองกลับไปอ่านอีกทีนะครับ ถ้าเข้าใจแล้วก็ลองดูอีกตัวอย่างนึงเลย
(h) If it rained tomorrow, I wouldn’t go out.ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าพรุ่งนี้ฝนตก ฉันจะไม่ออกไปข้างนอก" (ผู้พูดคิดว่าพรุ่งนี้ฝนไม่ตกหรอก โอกาสที่ฝนตกน้อยมาก ๆ ๆ เพราะฉะนั้นฉันน่าจะได้ออกไปข้างนอกแหละ) น้อง ๆ สังเกตด้วยว่ากริยา rained อยู่ในรูป past tense เนื่องจากเป็นการสมมติ ไม่ได้สื่อถึงเวลาในอดีตนะครับ
จากประโยค (h) เราสามารถใช้กริยาในรูป were to + V0 ใน if-clause ก็ได้
(i) If it were to rain tomorrow, I wouldn’t go out.นอกจากนี้เรายังอาจทำ inversion โดยการตัด if ทิ้ง แล้วย้าย were มาวางหน้าประธานได้อีกด้วย ดังนี้
(j) Were it to rain tomorrow, I wouldn’t go out.
If แบบที่ 3 (Third Conditional): ตรงข้ามกับความจริงในอดีต
โดยที่If + S + Vpast perfect , S + would + have + V3
- Vpast perfect = กริยาในรูป past perfect (had + V3) หรือบางกรณีอาจใช้ past perfect continuous (had + been + Ving) ก็ได้ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
- นอกจากจะใช้ would ใน main clause แล้ว เรายังสามารถใช้ could หรือ might ก็ยังได้ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ต้องการสื่อ
มาดูตัวอย่างกันเลย
(k) If it had rained yesterday, I wouldn’t have gone out.ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าเมื่อวานนี้ฝนตกนะ ฉันก็ไม่ออกไปข้างนอกหรอก" (ความจริงคือเมื่อวานนี้ฝนไม่ได้ตก ฉันก็เลยได้ออกไปข้างนอก)
ประโยคนี้สามารถทำ inversion ได้โดยการตัด if ทิ้ง แล้วย้าย had มาวางหน้าประธานได้ดังนี้
(l) Had it rained yesterday, I wouldn’t have gone out.
โครงสร้างของประโยคเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่โครงสร้าง “พื้นฐาน” และ “พบบ่อยในข้อสอบ” จริง ๆ แล้วยังมีการใช้ if ในลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น if แบบผสม (2+3 หรือ 3+2) ถ้ามีเวลาน้อง ๆ ก็ควรไปศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ด้วย แต่ถ้าไม่มีเวลาก็คงต้องเอาแค่นี้ก่อน
เอาล่ะ กลับมาดูที่ตัวโจทย์กัน
If S(buildings) V(sprang up) suddenly out of the ground like mushrooms, S(their rooftops) V(would be covered) into a layer of soil and plants.
ถามว่าเป็นประโยคเงื่อนไขแบบไหนเอ่ย? แล้วที่เค้าให้มานั้นถูกรึยัง (ดูจาก verb)
จะตอบได้ก็ต้องรู้ก่อนว่า sprang เป็นรูปอดีตของ spring
เพราะฉะนั้นว่าง ๆ น้องก็ต้องท่องกริยาสามช่องที่มีรูปไม่ปกติ (irregular verbs) เอาไว้บ้างนะครับ มีอยู่ 200 กว่าตัว (นิดเดียวเองใช่มั้ยครับ ;-)) แต่ในระดับ ม.ปลาย นี้รู้แค่ประมาณ 100 ตัวก็น่าจะพอเอาตัวรอดได้จำ!! spring ~ sprang ~ sprung
แสดงว่าประโยคที่ให้มาอยู่ในรูป If + S + Vpast , S + would + V0 ตรงกับ if แบบที่ 2 เพราะฉะนั้น sprang up ก็ไม่ผิดนะครับ (spring up เป็น phrasal verb แปลว่าผุดขึ้นมา)
ถึงตรงนี้น้องบางคนอาจสงสัยว่าทำไมเค้าใช้ would be covered ไม่เห็นตรงกับสูตร if แบบที่ 2 เลย? ในที่นี้ would be covered อยู่ในรูป passive voice ครับ ถ้าน้องแม่นเรื่อง passive voice ก็จะรู้ว่าจริง ๆ มันก็ตรงกับสูตรนั่นแหละ
สูตรของ passive voice คือ be + V3 เมื่อเอาไปต่อท้ายสูตร would + V0 จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
เราใช้ passive voice เมื่อต้องการสื่อความหมายว่า “ประธานถูกกระทำ” ดังนั้น would be covered ก็แปลว่า “จะถูกปกคลุม” นั่นเอง(would + V0)(be + V3) → would + be + V3
โจทย์ขีดเส้นใต้คำว่า like ซึ่งเป็น preposition แปลว่าเหมือน (น้องสามารถอ่านเรื่อง like เพิ่มเติมได้ในบทความที่ 9) ดังนั้น like mushrooms แปลว่าเหมือนเห็ด ก็ถูกต้องแล้วนะครับ (ตรงนี้ตรวจสอบโดยใช้หลักว่า preposition (like) + noun phrase (mushrooms))
โจทย์ขีดเส้นใต้คำว่า into ถูกรึเปล่าก็ไม่รู้ แต่ควรข้ามไปก่อนถ้าไม่แน่จริง เพราะ preposition พวกนี้ดูค่อนข้างยาก ถ้าไม่แม่นจริงก็อาจพลาดเอาได้ง่าย ๆ
โจทย์ขีดเส้นใต้คำว่า soil เราจึงมาดูตรง soil and plants จะเห็นว่า soil เป็น noun และ plants ก็เป็น noun เช่นเดียวกัน ดังนั้นคำว่า and ก็ทำหน้าที่ของมันได้สมบูรณ์แล้ว เพราะ and เป็น co-ordinating conjunction มีหน้าที่เชื่อมสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน (ตามหลักไวยากรณ์เรื่องโครงสร้างคู่ขนาน parallelism) ในที่นี้ and เชื่อม noun กับ noun เหมือนกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้ถูกแล้ว
บางคนอาจตั้งข้อสังเกตว่า plants มี s แต่ soil ไม่มี s เพราะฉะนั้น soil น่าจะผิด ควรแก้ให้ถูกโดยการเติม s เพื่อให้มันขนานกัน — ถ้าคิดอย่างนี้ล่มจมเลยครับ! เพราะในที่นี้ soil เป็น noncount noun (นามนับไม่ได้) ไม่เติม s ก็ถูกอยู่แล้ว ส่วน plant มันนับได้นิ ก็เลยเติม s ได้
กลับมาดูที่ into ครับ ไอ้ตัวนี้แหละน่าจะผิด (เพราะข้ออื่นไม่ผิด) แต่จะตอบข้อนี้ได้อย่างมั่นใจน้องต้องแม่น prepositions ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจุกจิก ถ้าอยากเก่งน้องก็ต้องอ่านเยอะ ๆ แล้วสังเกตการใช้ prepositions ในประโยคต่าง ๆ แล้วจดจำไว้
ในโจทย์ข้อนี้ be covered มีความหมายว่า “ถูกปกคลุม” ดังนั้นมันจะมี preposition ตามหลังได้ 3 แบบดังนี้
be covered with
be covered in
be covered by
บรรทัดสุดท้ายใช้ by ซึ่งเป็น preposition ที่พบในประโยค passive ทั่ว ๆ ไป (by + ผู้กระทำ)
น้อง ๆ ลองศึกษาตัวอย่างประโยคจาก Cambridge Advanced Learner’s Dictionary นะครับ จะได้เข้าใจมากขึ้น ไปดูกันเลย
ลองแปลดูเองละกันนะครับ พี่ขี้เกียจแปล ;-) กลับมาที่โจทย์ของเรา ถามว่าควรแก้ into เป็นอะไรดีครับ?The bandages were covered with/in blood.How much of the Earth’s surface is covered by/with water?
คำตอบคือ แก้เป็น with จะเหมาะสมที่สุดครับ (ถูกปกคลุมด้วย) หรือจะใช้ by ก็ได้ (ถูกปกคลุมโดย) เพราะฉะนั้นประโยคที่แก้แล้วจะเป็นอย่างนี้ครับ
If S(buildings) V(sprang up) suddenly out of the ground like mushrooms, S(their rooftops) V(would be covered) with a layer of soil and plants.
ประโยคนี้แปลว่า “ถ้า (สมมติว่า) มีสิ่งปลูกสร้าง (เช่น บ้าน, ตึก ฯลฯ) ผุดขึ้นมาจากพื้นดินอย่างฉับพลันราวกับดอกเห็ดแล้วล่ะก็ หลังคาของสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นจะถูกปกคลุมด้วยชั้นของดินและพืช”
คำศัพท์น่ารู้
- spring up (phrasal verb) = ผุดขึ้นมา (อย่างรวดเร็ว)
- suddenly (adverb) = อย่างฉับพลัน = quickly + unexpectedly = all of a sudden; abruptly
บทความนี้เขียนโดยครูแมค เมื่อ November 8, 2011 โพสต์ครั้งแรกในเว็บไซต์ tutormax.wordpress.com และโพสต์ครั้งที่สองในเว็บไซต์ krumac.com